จริงๆ แล้วมีการปรับอัตราค่าไฟฟ้ามาตั้งแต่เดือน 7 ปี 2554 แล้ว ผมว่าจะเขียนขึ้นบล็อกหลายครั้งแล้ว แต่ก็ไม่ได้ทำ หลังจากที่เมื่อคืนนึกได้อีกครั้ง เช้านี้ต้องลงมือเขียนล่ะ.
อัตราค่าไฟฟ้าที่เปลี่ยนไปเราสามารถหาโหลดได้(PEA rate) ครับ ที่โรงงานใช้อัตราค่าไฟฟ้าแบบปกติหลังจากที่ได้รับบิลของเดือน 7 มาตอนแรกดีใจครับ ค่า FT ลดลงจาก 0.9581 แถมยังลดให้อีก 0.06 แต่พอมาดูการคิดค่าบริการพบว่าขึ้นจาก 1.7034 เป็น 2.7815 ดูแล้วน่าตกใจครับ เมื่อนำมาคิดดีๆ จะได้.
ค่าไฟฟ้าเก่า 1.7034+0.9581 = 2.6615
ค่าไฟฟ้าใหม่ 2.7815 - 0.06 = 2.7215
สรุปคือแพงกว่าเดิม 0.06 บาท/kW
*ที่โรงงานผมใช้มากกว่า 2 แสน kW ต่อเดือน คิดแล้วจ่ายเพิ่มอีกเป็นหมื่นครับ (แต่ผมก็ยังอดสงสัยไม่ได้ทำไมถึงเปลี่ยนค่าบริการ น่าคิดครับ)
วันพฤหัสบดีที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2554
Timer & Air Condition
เป็นเรื่องของการประหยัดพลังงานแบบง่ายๆ อีกแบบหนึ่ง เรื่องมีอยู่ว่าในห้องประชุมที่บริษัทที่ผมทำงานอยู่ถูกเปิดใช้งานแอร์ เรียกว่า 24 ชั่วโมงก็ว่าได้ จริงๆ ไม่ได้หวงใช้ แต่ว่ากดแอร์กันอุณหภูมิต่ำสุดที่กดได้เลย ของผม 18 องศา ปัญหาคือ Comp. มันไม่ตัดครับเพราะว่ามันทำอุณหภูมิที่ว่าไม่ได้ ปล่อยไว้งานเข้าแน่นอนครับ จึงได้ทำการใส่ Timer ดังรูปเข้าไปไม่ให้เปิดเวลากลางคืน 20.00 - 07.00 เปิดได้แต่เวลากลางวัน 07.01 - 19.59 โลกก็กลับมาสงบสุขอีกครั้ง.
อนาคตกำลังคิดว่าจะคุมการเปิด-ปิด ของแอร์ทั้งโรงงานเลย ถ้าไปได้สวยจะมาเล่าต่อครับ.
วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2554
รายงานการจัดการพลังงาน
และแล้วก็เข้าเดือนมีนาคมแล้ว เป็นเดือนที่ยากลำบากสำหรับเหล่าผู้จัดทำรายงานการจัดการพลังงานอีกครั้ง แต่ผมก็ยังมีโชคอยู่บ้างที่ปีที่ผ่านมาได้ทดลองส่งตัวอย่างไปแล้ว ทำให้มีฐานข้อมูลที่แข็งแรงพอใช้ได้อยู่บ้าง แต่สิ่งที่น่าเชื่อคือเรื่องเกี่ยวกับพลังงานที่ทำอยู่นี้ยังได้รับความสำคัญน้อยครับ สู้ๆ ครับ ประหยัดพลังงานช่วยชาติ.
วันจันทร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2554
สวัสดีปี 2554
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)