วันจันทร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Energy Savings By Voltage Control 2


ครับกลับมาเขียนบทความภาคต่อเกี่ยวกับการปรับลดแรงดัน Voltage Control จาก 400 V. ไปสู่ 380 V. ครับ ผมทำการทดลองโดยการปรับต่ำแหน่งขดลวดด้านปฐมภูมิของหม้อแปลง (ด้าน High Voltage 22 KV) ลงเพราะหม้อแปลงของเอกรัฐลูกนี้ 1500 KVA (2000A) สามารถปรับต่ำแหน่งขดลวดได้ แต่ไม่ใช่ว่าผมจะปรับเองนะครับ เราต้องทำการปรึกษากับทางเอกรัฐก่อน ให้ทางเอกรัฐมาทำการตรวจสอบสภาพของขดลวดเพราะหม้อแปลงผมใช้มาประมาณ 10 ปีแล้ว ซึ่งถ้าเราปรับต่ำแหน่งขดลวดลง 1 ต่ำแหน่ง แรงดันจะตกลงประมาณ 10 V. ครับ ซึ่งก่อนที่เราจะทำการปรับลดเราต้องมีการเก็บข้อมูลของการใช้ไฟฟ้าแต่ละวันก่อน รวมถึงค่าการใช้ปริมาณไฟฟ้าสูงสุดของแต่ละวัน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน แต่สมัยนี้การไฟฟ้าพัฒนาแล้วครับ เราสามารถดูข้อมูลการใช้พลังงานไฟฟ้าผ่าน Internet ได้เดี๋ยวมาเล่าทีหลัง บทความหน้าจะนำรูปหลังลดแรงดันมาให้ดูครับ. -->ก่อนหน้า -->อ่านต่อ

วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Save Mode


วันนี้เป็นวันอาทิตย์ครับ เป็นวันหยุดของมนุษย์เงินเดือนโดยแท้จริง หลังจากที่ต้องผ่านสงครามจิตวิทยาอย่างต่อเนื่อง ที่ทำให้พลังกาย พลังใจถดถอยมา 5 วัน บางคนอาจ 6 วัน วันหยุดจึงเป็นวันที่เราจะชาร์จแบตเตอร์รี่มนุษย์ให้เติมอีกครั้งพร้อมกับไปต่อสู้ใหม่ในวันพรุ่งนี้ครับ บางคนอาจไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ กับครอบครัว ไปดูหนังกับแฟน หรือไปกินข้าวกับคุณแม่ ก็ขอให้ใช้ช่วงเวลาชิวิตให้มีความสุขครับ บทความนี้อยากให้ทุกคนที่ได้อ่านรักษาสุขภาพในช่วงหน้าหนาว เพราะอากาศในประเทศไทยเปลี่ยนแปลงบ่อยๆ เดี๋ยวร้อน เดี๋ยวหนาวครับ.

วันเสาร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Easy Energy Savings 1

แนะนำวิธีการง่ายๆ กับการประหยัดพลังงานที่ใครๆ ก็ทำได้ครับ
-การเปิดไฟแสงแสงสว่างจะเป็นการเพิ่มพื้นที่ความร้อนให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้นครับ ดังนั้นถ้าดวงไหนไม่ใช้ก็ปิดครับ.
-การซักเสื้อผ้าโดยเครื่องซักผ้าหรืออบผ้าควรใช้ให้เต็มความสามารถของเครื่องไม่ต้องเปิดใช้บ่อยๆครับ คล้ายๆกับการรีดผ้า
-เราไม่วางอุปกรณ์เครื่องตกแต่งบ้านขวางทางเครื่องปรับอากาศ และท่อระบายของเครื่องปรับอากาศครับ
-ควรเปลี่ยนจากหลอดไส้มาเป็นหลอดฟลูออร์เรสเซนต์ครับ เพราะประหยัดไฟฟ้ามากกว่า และด้วยนี้มีหลอด T5 ประหยัดไฟฟ้ามากขึ้นประมาณ 30% ของหลอด T8 ครับที่ให้แสงสว่างใกล้เคียงกัน
-ห้องที่มีเครื่องปรับอากาศควรปิดประตูทั้งหมดให้สนิทครับ ไม่ควรเปิดไว้เพื่อเครื่องจะได้ไม่ทำงานหนัก
-มีการตรวจสอบน้ำยาเครื่องปรับอากาศสม่ำเสมอเพื่อเครื่องจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการตรวจสอบน้ำยาเครื่องปรับอากาศของรถยนต์ด้วยเพราะถ้ามันรั่ว และน้ำยาเป็น Freon R-12 มันมีสาร CFC ซึ่งทำลายชั้นบรรยากาศของโลก ปกติจะถูกเปลี่ยนเป็น R-134a แล้ว
-เมื่ออากาศดี เช่น ช่วงฤดูหนาว อากาศเย็นสบายๆ ควรปิดเครื่องปรับอากาศและเปิดหน้าต่างรับลมดีกว่าครับ
สำหรับบทความวิธีการง่ายๆ กับการประหยัดพลังงานวันนี้พอแค่นี้ก่อนครับไว้ต่อบทความหน้าครับ

วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Energy Savings By Voltage Control 1

ผมเคยสับสนว่าทำไมการควบคุมแรงดันให้อยู่ในระดับที่เครื่องจักรหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต้องการทำให้สามารถลดการใช้พลังงานได้ คำถามนั้นติดอยู่ในใจผมตลอดเวลาจนวันหนึ่งผมได้ทำการหาข้อมูล และทดลองทำดูจึงสามารถบอกได้ว่าจริงครับ แต่ต้องอยู่ในสภาวะที่ปัจจุบันแรงดันไฟฟ้าในโรงงานของเรามีค่ามากกว่า 380 V ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 400 V ให้คิดง่ายๆ จากสูตรพื้นฐานครับ Power = 1.73 * I * V *PF. ถ้าให้ 1.73, I และ PF. เป็นค่าคงที่มีค่าเท่ากับ 1 ดังนั้น 400-380 = 20 มีส่วนต่างอยู่ที่ 20 W แต่หลายๆ ท่านอาจจะเคยคิดเหมือนผมว่าเครื่องจักรเคยกินพลังงานเท่าใด มันก็จะกินเท่าเดิมตลอด ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงแรงดันไม่มีผลต่อการประหยัดพลังงาน ใช่ครับเครื่องจักรที่เคยใช้พลังงานเท่าใดมันก็ยังใช้เท่าเดิมแต่เราได้ตัดส่วนที่ฟุ่มเฟือยออกไปครับ คือความสูญเสียในขดลวดของหม้อแปลง ความสูญเสียในสายไฟฟ้า และค่าพลังงานขณะ Start เครื่องจักร (Peak) ครั้งต่อไปผมจะนำตัวอย่างมาให้ดูครับ แต่การกระทำการใดๆ ที่อาจส่งผลต่ออุปกรณ์เครื่องจักรควรศึกษาก่อนนะครับ โดยดูจากคู่มือ. -->อ่านต่อ

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Unplug 1 (Tip Electricity)


วันนี้ผมขอพักเรื่องพลังงานไว้ก่อนครับ บังเอิญเมื่อ 2-3 วันที่ผ่านมาผมไปเจอเหตุการณ์เกี่ยวกับการตรวจวัดสายไฟฟ้าว่าสายใดเป็น L สายใดเป็น N โดยปกติเราก็ใช้ไขขวงเช็คไฟตรวจเช็คดูไฟใช่ใหมครับ แต่บังเอิญในวันนั้นไม่มีครับ แต่เรามี Meter ตัวหนึ่งผมบอกทีมผมว่ามันบอกเราได้ครับว่าสายใดเป็นสาย L โดยวิธีใช้ปรับมาที่ย่านวัดแรงดันไฟสลับ สายด้านหนึ่งเสียบวัดไฟ และอีกด้านปล่อยไว้ครับตามรูป ถ้าสายใดเป็น L จะมีแรงดันขึ้นครับ ส่วนสาย N จะไม่มีแรงดันขึ้น ถ้าเอามือลองแตะๆ ดูอีกด้านแรงดันจะยิ่งเพิ่มครับ.

Nuclear Energy


เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานนิวเคลียร์กันครับ พลังงานนิวเคลียร์เป็นพลังงานที่ถูกปล่อยออกจากสารกัมมันตภาพรังสี ที่มีอยู่ในธรรมชาติหรือที่เกิดในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูหรือระเบิดปรมาณู การเกิด fusion ของนิวเคลียร์เล็ก มีหลักอยู่ว่า ถ้านำเอาธาตุเบาๆ ตั้งแต่ 2 ธาตุขึ้นไป มารวมกันโดยมีพลังงานความร้อนอย่างสูงเข้าช่วย จะทำให้ธาตุเบาๆ นี้รวมกัน กลายเป็นธาตุใหม่ ซึ่งหนักกว่าเดิม ส่วน fission เกิดจากปฏิกิริยาระหว่างการยิงอนุภาคบางชนิดกับนิวเคลียสของธาตุหนักๆ ทำให้นิวเคลียสของธาตุหนักแตกแยกออกเป็น 2 ส่วน ซึ่งแต่ละส่วนเป็นธาตุที่เบากว่าเดิม และขนาดเกือบเท่าๆ กัน พลังงานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิตน้อย

Electrical Energy


ก่อนหน้านี้ผมมีบทความเกี่ยวกับไฟฟ้ามาจากไหน ซึ่งกล่าวถึงที่มาของพลังงานไฟฟ้าในรูปแบบต่างๆ ดังนั้นพลังงานไฟฟ้ากล่าวโดยย่อคือเป็นพลังงานที่ได้จากปฏิกิริยาเคมีแบบหนึ่งอันมีผลให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้นได้ และกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นนี้จะไหลผ่านความต้านทานไฟฟ้าได้ถ้าต่อให้เป็นวงจร ผลจากกระแสไฟฟ้าดังกล่าวอาจทำให้เกิดผลต่าง ๆ เช่นก่อให้เกิดอำนาจแม่เหล็ก เกิดความร้อนหรือแสงสว่าง พลังงานที่เกิดจากการผ่านขดลวดไปในสนามแม่เหล็ก, พลังงานที่ใช้ขับเครื่องคอมพิวเตอร์, พลังงานที่ได้จากเซลล์แสงอาทิตย์ เป็นต้น

Radiant Energy

เรามาเรียนรู้พลังงานที่มาในรูปของคลื่นกันบ้างครับ ยกตัวอย่างเช่น แสง ความร้อน คลื่นวิทยุ อินฟาเรด อัลตราไวโอเลต รังสีเอกซ์ รังสีคอสมิก สิ่งมีชีวิตต้องอาศัยพลังงานรูปนี้ ในกระบวนการที่สำคัญต่างๆ เช่น การมองเห็นภาพ การสังเคราะห์ด้วยแสง การขยายพันธุ์ชนิดที่ขึ้นอยู่กับช่วงแสง อาจสรุปได้ว่าเป็นพลังงานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเอง ซึ่งพลังงานรูปนี้มีบทบาทต่อความเป็นอยู่ปกติของสิ่งมีชีวิต และอาจจะได้พลังงานที่ได้รับจากดวงอาทิตย์, พลังงานจากเสาส่งสัญญาณทีวี, พลังงานจากหลอดไฟ, พลังงานจากเตาไมโครเวฟ, พลังงานจากเลเซอร์ที่ใช้อ่านแผ่นซีดี ฯลฯ

Mechanical Energy


เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานกลกันครับ พลังงานกลเป็นพลังงานที่เกี่ยวข้อง กับการเคลื่อนที่โดยตรง เช่น ก้อนหินที่อยู่บนยอดเนินจะมีพลังงานศักย์กล (Potential mechanical energy) อยู่จำนวนหนึ่ง ขณะที่ก้อนหินกลิ้งลงมาตามทางลาดของเนิน พลังงานศักย์จะลดลง และเกิดพลังงานจลน์กลของการเคลื่อนที่ (Kinetic mechanical energy) ขึ้นแทน สิ่งมีชีวิตอาศัยพลังงานรูปนี้ในการทำงานที่ต้องมีการ เคลื่อนไหวเป็นประจำ เช่น การเดิน การขยับแขนขา การหยิบวัตถุ เป็นต้น

Thermal Energy


เรามาเรียนรู้กับพลังงานความร้อนกันครับ มนุษย์เราได้พลังงานความร้อนมาจากหลายแห่งด้วยกัน เช่น จากดวงอาทิตย์, พลังงานในของเหลวร้อนใต้พื้นพิภพ , การเผาไหม้ของเชื้อเพลิง, พลังงานไฟฟ้า, พลังงานนิวเคลียร์, พลังงานน้ำในหม้อต้มน้ำ, พลังงานเปลวไฟ ผลของความร้อนทำให้สารเกิดการเปลี่ยนแปลง เช่น อุณหภูมิสูงขึ้น หรือมีการเปลี่ยนสถานะไป และนอกจากนี้แล้ว พลังงานความร้อน ยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีได้อีกด้วย หน่วยที่ใช้วัดปริมาณความร้อน คือ แคลอรี่ โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แคลอรี่มิเตอร์

Chemical Energy

เรามาเรียนรู้เกี่ยวกับพลังงานเคมีกันครับ พลังงานเคมีเป็นพลังงานที่สะสมอยู่ในสารต่างๆ โดยอยู่ในพันธะระหว่างอะตอมในโมเลกุล เมื่อพันธะแตกสลาย พลังงานสะสมจะถูกปล่อยออกมาในรูปของความร้อน และแสงสว่าง ตัวอย่างเช่น พลังงานในกองฟืน, พลังงานในถังน้ำมัน เมื่อไม้ลุกไหม้แล้วจะให้คาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ รวมถึงการผลิตของเสียอื่นๆ เช่น ขี้เถ้า เนื่องจากเชื้อเพลิงที่ใช้แต่ละชนิด มีโครงสร้างทางเคมีที่ต่างกัน เมื่อทดลองใช้ในปริมาณเชื้อเพลิงที่เท่ากัน จะให้ความร้อนไม่เท่ากัน ซึ่งก๊าซธรรมชาตินั้นให้ความร้อนมากกว่าน้ำมัน และน้ำมันนั้นก็ให้ความร้อนมากกว่าถ่านหิน

Today Energy

เมื่อวันก่อนผมพูดถึงที่มาของพลังงานไฟฟ้าแต่ผมลืมไปว่า เราไม่ควรมองข้ามพลังงานอื่นๆ ที่อยู่ในโลกใบนี้ผมจึงขอเพิ่มเติมในส่วนนี้ครับ พลังงานแบ่งออกเป็น 6 ประเภท ตามลักษณะที่เห็นได้ชัดเจน ซึ่งได้แก่
1. พลังงานเคมี (Chemical Energy)
2. พลังงานความร้อน (Thermal Energy)
3. พลังงานกล (Mechanical Energy)
4. พลังงานจากการแผ่รังสี (Radiant Energy)
5. พลังงานไฟฟ้า (Electrical Energy)
6. พลังงานนิวเคลียร์ (Nuclear Energy)

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Where Are Electrical Energy From?

หลายๆ ท่านอาจจะไม่ทราบว่าพลังงานไฟฟ้าที่เราใช้กันอยู่นี้มาจากไหน เกิดขึ้นด้วยวิธีใดบ้าง ผมจึงนำข้อมูลที่น่าสนใจเหล่านี้มานำเสนอครับ รูปแบบของการเกิดพลังงานไฟฟ้าแบ่งเป็น 5 รูปแบบครับ

1. เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ได้แก่ ฟ้าแลบ ฟ้าผ่า
2. เกิดจากการเปลี่ยนพลังงานความร้อนเป็นพลังงานไฟฟ้า
3. เกิดจากการเปลี่ยนแสงสว่างให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell)หรือ โฟโตเซลล์(Photo Cell)
4. เกิดจากปฎิกิริยาเคมี เช่น แบตเตอรี่ ถ่านไฟฉาย เซลล์แห้งและเซลล์เชื้อเพลิง เป็นต้น
5. เกิดจากการเหนี่ยวนำของอำนาจแม่เหล็กโดยเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ได้แก่ ไฟฟ้าที่ใช้อยู่ตามอาคารบ้านเรือนในปัจจุบัน

ขอขอบคุณข้อมูลจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยครับ

วันอังคารที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Manage Energy Savings




การอนุรักษ์พลังงานสามารถแบ่งได้ 3 ประเภท 1.Housekeeping (HK) เป็นวิธีที่มีการลงทุนต่ำหรือไม่มีการลงทุน เช่น การปิดไฟ ปิดแอร์ เมื่อเลิกใช้งาน เป็นต้น 2.Process Improvement (PI) หรือ Minor Change เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพของอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้ดีขึ้น เช่น การเพิ่มระบบ เปิด-ปิด อัตโนมัติของเครื่องจักร การตั้งระบบแอร์ให้สลับกันทำงาน เป็นต้น 3.Machine Change(MC) หรือ Major Change เป็นการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่แทนเครื่องจักรเก่าที่ใช้พลังงานมาก จะมีการลงทุนสูงให้พิจารณาที่ระยะเวลาของการคุ้มทุนเป็นหลักครับ.

วันจันทร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Why? Energy Savings.




เนื่องจากเกิดภาวะด้านเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบดังกล่าวด้วย ทำให้ส่งผลกระทบกับทุกภาคธุรกิจ โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรม ทำให้องค์กรธุรกิจต้องมีการปรับกลยุทธ์ โดยการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลักๆ คือ การบริหารจัดการ, วัตถุดิบ และ พลังงาน ซึ่งพลังงานถือเป็นต้นทุนที่สูง หากเราสามารถลดการใช้พลังงานหรือใช้อย่างมีประสิทธิภาพ จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลงได้

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

Kick Off Energy


คนเราใช้เวลามากมายค้นหาสิ่งที่ตัวเองต้องการ บางคนใช้เวลาทั้งชีวิตค้นหาคำตอบของการดำเนินชีวิต ผมเองก็เช่นกันได้เรียนรู้ที่จะมีชีวิตเพื่ออะไรบางอย่าง ถึงจะเป็นสิ่งเล็กน้อยในบล็อกเล็กๆ ของผม แต่ผมอยากทำขึ้น เพื่อลูกหลานในอนาคต เพื่อประเทศชาติของเราจะได้มีพลังงานใช้กันต่อไปครับ